ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

ข้อมูล จปฐ. คือ ข้อมูลระดับครัวเรือนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า “คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องนั้น ๆ อย่างไร”

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน

   

ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2561

ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2560

ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. (เขตชนบท) ปี 2558
ผลการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง) ปี 2558

   

ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. (เขตชนบท) ปี 2559
ผลการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง) ปี 2559
ผลการจัดเก็บข้อมูลรวม (ข้อมูล จปฐ. + ข้อมูลพื้นฐาน) ปี 2559

ผู้จัดเก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล
         - ผู้จัดเก็บข้อมูล คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำชุมชน หัวหน้าคุ้ม อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) อสม. หรืออาสาสมัครอื่นๆ (ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่อง)
         - ผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้าครัวเรือน ภรรยา หรือสมาชิกในครัวเรือนที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้อย่างครบถ้วน

การจัดเก็บข้อมูล
         - จัดเก็บทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งที่มีเลขที่บ้าน และไม่มีเลขที่บ้าน
         - ใช้แบบสอบถาม 1 เล่ม ต่อ 1 ครัวเรือน (ครัวเรือน หมายถึง ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกันและกินอยู่ด้วยกัน ครัวเรือนหนึ่งๆ อาจมีหลายครอบครัวก็ได้)
         - การจัดเก็บ เก็บทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง โดยในแบบสอบถามใช้ข้อความว่า "ในรอบปีที่ผ่านมา" ให้หมายถึง "การนับจากวันที่สอบถามข้อมูลย้อนหลังไป 12 เดือน"
         - สมาชิกในครัวเรือน หมายถึง สมาชิกที่อยู่ประจำในครัวเรือนนี้ (คนที่ไม่ได้อยู่ประจำ แต่ไปๆ มาๆ ในรอบปีที่ผ่านมาต้องมีเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน)